บทความสาระ
(Article)
พระปิดตา

พระปิดตาพิมพ์2หน้า เนื้อผงใบลาน หลวงพ่อเชย วัดท่าควาย จ.สิงห์บุรี

หลวงพ่อเชยเป็นชาวเมืองสิงห์บุรี โดยกำเนิด ท่านเกิดเมื่อ พ.ศ. 2412 ปีมะเส็ง พออายุได้ 2 ขวบ โยมบิดามารดาได้เสียชีวิตลง ลุงของหลวงพ่อจึงนำไปอุปการะเลี้ยงดู จนกระทั่งอายุของหลวงพ่อได้ 13 ปี จึงได้นำไปฝากเป็นบุตรบุญธรรมของหลวงพ่อแตง ที่วัดเสฐียรวัฒนดิษฐ์ แห่งนี้ ครั้นอายุได้ 20 ปีบริบูรณ์ หลวงพ่อแตงและญาติโยมที่ยังมีชีวิตอยู่ขณะนั้นได้ทำการอุปสมบท ณ วัดเสฐียรวัฒนดิษฐ์ โดยมีหลวงพ่อแตงเป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อหลวงพ่อเชยอุปสมบทแล้ว หลวงพ่อเชยอุปสมบทแล้ว หลวงพ่อเชยอุปสมบทแล้ว หลวงพ่อก็อยู่ที่วัดเสฐียรวัฒนดิษฐ์ตลอดมา

จนหลวงพ่อแตงมรณภาพ ชาวบ้านแถบถิ่นนั้นได้นิมนต์ให้หลวงพ่อเชยรับหน้าที่เป็นเจ้าอาวาสสืบแทนปกครองดูแลพระลูกวัดสืบทอดมา กระทั่งหลวงพ่อเชยมรณภาพลงเมื่อ พ.ศ. 2469 ปีขาล ด้วยโรคลมปัจจุบันทันด่วน สิริรวมอายุได้ 57 ปี พรรษาที่ 39 พรรษา มรณภาพมาแล้ว 62 ปี

ขณะ ที่ท่านยังมีชีวิตอยู่นั้นหลวงพ่อได้รับการศึกษาและออกธุดงควัตรหลายแห่ง และเรียนวิทยาการหลายแขนงจากหลวงพ่อแตง โดยศึกษาภาษาไทยบาลีกับหลวงพ่อแตงตั้งแต่อายุ 13 ปี เมื่อบรรพชาเป็นพระภิกษุแล้วได้ศึกษาพระธรรมวินัย พระปริยัติธรรม และวิปัสสนาธุระ รวมตลอดถึงพุทธาคมกับหลวงพ่อแตงมาโดยตลอด หลวงพ่อแตงเป็นพระที่เชี่ยวชาญในด้านวิทยาการหลายแขนง ในฐานะที่หลวงพ่อเป็นศิษย์ได้ถ่ายทอดวิทยาการแขนงต่าง ๆ จากหลวงพ่อแตง หลวงพ่อจึงดำเนินรอยตาม หลวงพ่อแตงทุกอย่าง ออกธุดงควัตรทุกปีรุกขมูลไปทั่วประเทศ เคยไปถึงประเทศ ลาว เขมร และพม่า การออกเดินธุดงควัตรของหลวงพ่อ ทำให้หลวงพ่อได้พบปะพระเกจิอาจารย์เรืองวิทยาคุณตามภาคต่าง ๆ และได้มีโอกาสร่ำเรียนวิทยาคมเพิ่มเติม รวมทั้งการแลกเปลี่ยนวิทยาคมซึ่งกันและกันกับพระอาจารย์นั้น ๆ ซึ่งในจำนวนนี้ก็มีหลวงปู่ศุข (พระครูวิมลคุณากร) วัดปากคลองมะขามเฒ่า ,หลวงพ่อช้าง วัดตึก และหลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ
สำหรับหลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือนั้น มีอายุอานามไล่เลี่ยกัน ไปมาหาสู่กันอยู่เสมอ ถึงกับหลวงพ่อเชยเคยให้พระปิดตาของท่านไปแจกจ่ายที่ อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร ก็เคยมี และเพราะเหตุนี้เองพระปิดตาที่มีปัญหานี้มีคนเข้าใจว่าเป็นของหลวงพ่อรุ่ง อันที่จริงนั้นหลวงพ่อเชยท่านให้หลวงพ่อรุ่ง เพื่อนำไปแจกจ่ายเป็นของขวัญให้กับญาติโยมและผู้ที่เคารพนับถือ จึงมีคนเข้ใจว่าเป็นพระของหลวงพ่อรุ่งสร้างขึ้น ที่จริงแล้วเป็นพระของหลวงพ่อเชยให้หลวงพ่อรุ่งไปแจก

หลวง พ่อเชยขึ้นชื่อลือเลื่องในทางสมถะ เป็นพระมักน้อย ตลอดชีวิตของหลวงพ่อได้ถือปฏิบัติตลอดมาอย่างเคร่งครัด หลวงพ่อได้ถือปฏิบัติตลอดมาอย่างเคร่งครัด หลวงพ่อฉันอาหารวันละมื้อ ปฏิเสธการแต่งตั้งสมณศักดิ์หลายครั้ง ยินดีรับกิจนิมนต์ โดยเฉพาะกิจนิมนต์ที่เกี่ยวกับการตาย แม้หนทางจะไกลแสนไกลสักเพียงใด หลวงพ่อจะต้องไปเสมอ
ข้อยืนยันว่าหลวงพ่อเป็นพระสมถะเพียงใดนั้น จะเห็นได้จากข้อ ความด้านหลังของเหรียญเสมาพระภควัมบดี พ.ศ. 2468 โดยหลวงพ่อให้ใช้คำว่า "ที่รฤกอาจารย์เชย ที่สร้างศาลาโรงธรรม" เท่านั้น โดยไม่ยอมให้ใช้คำว่า "พระอาจารย์เชย" เพราะท่านไม่ต้องการโอ้อวดใด ๆ 
ปรากฏ เป็นหลักฐานอีกอย่างหนึ่งว่า หลวงพ่อเชยท่านมีความสามารถทางฝีมือช่างเป็นพิเศษ การก่อสร้างถาวรวัตถุหลายอย่าง หลวงพ่อเป็นผู้ออกแบบแกะสลักลวดลาย และทำงานก่อสร้างเองทั้งสิ้น แม้แต่การสร้างแม่พิมพ์พระ การแกะสลัก การปั้นรูปภาษี หลวงพ่อก็ออกแบบและทำเองด้วย ในโอกาสที่หลวงพ่อเชยได้พบปะแลกเปลี่ยนวิทยาคมกับหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่านั้น เสด็จในกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ เสด็จมานมัสการหลวงปู่ศุขหลายครั้ง ทรงพบเห็นพระของหลวงพ่อเชยแล้ว ก็ทรงพระดำริว่าจะให้ช่างทางกรุงเทพฯ แกะแม่พิมพ์ถวาย ซึ่งเป็นแม่พิมพ์พระโคนสมอ กับแม่พิมพ์พระภควัมบดี บางพิมพ์ให้กับหลวงพ่อเชย

พุทธคุณที่เล่าสืบทอดกันมา
พุทธคุณในวัตถุมงคลของท่านเด่นทาง เมตตามหานิยม